ด้านเศรษฐกิจ |
|
การเกษตร |
|
|
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดชุมแสงส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 39,050.40 บาท/ปี รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตรมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 90 เช่น ทำนา ปลูกพืชไร่ พืชสวน เป็นต้น |
|
|
- การทำนา ได้แก่ การปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักและปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก มีจำนวนครัวเรือนที่ปลูกข้าว 3,014 ครัวเรือน พื้นที่ทำนาประมาณ 52,654 ไร่ มีการปลูกไว้รับประทานและขายเป็นส่วนใหญ่ - การปลูกพืชไร่ ได้แก่ ไผ่ อ้อย ข้าวโพด พริก ถั่วลิสง ถั่วเขียว มันสำปะหลัง ปอ เป็นการปลูกเพื่อขายและเก็บไว้บริโภคบางส่วน - การปลูกพืชสวน ได้แก่ แตงไทย แตงโม แตงกวา ฟักทอง พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะละกอ และผักอื่น ๆ ซึ่งปลูกไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นบางส่วน - การปลูกพืชไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ชวนชม - การปลูกพืชไม้ยืนต้น ไม้ผล และสวนป่า ได้แก่ ขนุน ฝรั่ง มะม่วง มะขาม กล้วย มะพร้าว มะนาว ชมพู่ ลำไย ยางพารา เป็นการปลูกไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นบางส่วน - การปลูกเห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า ,นางรม,ขอนขาว, เห็ดกระด้าง,เห็ดฟาง เป็นต้น ซึ่งปลูกไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นบางส่วน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การปศุสัตว์ |
|
|
จำนวนครัวเรือนผู้เลี้ยงสัตว์ทั้งหมด 8 ประเภท และแยกเป็นประเภทสัตว์ที่เลี้ยง ดังนี้.- หมู,โค,กระบือ,ไก่,เป็ด,ห่าน,เลี้ยงไหมในครัวเรือน,นกกระทา,จิ้งหรีด เป็นการเลี้ยงไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นบางส่วน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การทำประมง |
|
|
ครัวเรือนผู้ทำการด้านประมง มีอยู่ 2 ประเภท และแยกเป็นประเภทสัตว์น้ำ เช่น ปลานิล,ปลาใน,ปลาตะเพียน,ปลาดุก,ปลานวลจันทร์ เป็นต้น และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบ ฯลฯ เพื่อเป็นการเลี้ยงไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นบางส่วน |
|
|
การพาณิชยกรรมและการบริการ |
|
|
ประเภทและจำนวนสถานประกอบการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการ |
|
|
1.สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม ก. สถานีบริการน้ำมัน 20 แห่ง ข. ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง ค. ตลาดสด - แห่ง ง. ร้านค้าทั่วไป 80 แห่ง |
|
|
2.สถานประกอบการด้านบริการ ก. ธนาคาร - แห่ง ข. ร้านเสริมสวย 18 แห่ง ค. ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า 15 แห่ง ง. ร้านซ่อมจักรยานยนต์ 35 แห่ง จ. ร้านขายอาหาร 40 แห่ง
|
|
|
3) โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง |
|
|
4) โรงสีข้าวขนาดเล็ก 30 แห่ง |
|
|
|
|
|
|